วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนการสอนวันที่ 16 ก.ค.

บันทึกการเรียนการสอนวันที่ 16 ก.ค. เรื่อง ระบบการบริหารและจัดการแบบ POSDCARE

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีระบบในการบริหารจัดการที่มีรูปแบบที่หลากหลาย
ซึ่งประกอบด้วย POSDCARE คือ การวางแผน การจัดองค์กร การจัดบุคลากร การอำนวยการ การประสานงาน การจัดสรรทรัพยากร การรายงาน และการประเมิน


1. การวางแผน (Planning)
แนวทางแรก หมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
หลายๆ ด้าน คือการกำหนดวัตถุประสงค์ การจูงใจ การสื่อความ การวัดผลงานและการพัฒนาคน สำหรับ
แนวทางที่สองมีความหมายกว้างกว่า คือ การวางแผนเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารที่ต้อง
กระทำอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมถึงงานทุกอย่างขององค์การ และเป็นเรื่องที่มุ่งถึงอนาคตเป็นสำคัญ การวางแผนจะต้องครอบคลุมองค์ประกอบ ดังนี้คือ “เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ วิธีดำเนินการ เกณฑ์กำหนดมาตรฐาน งบประมาณและแผนงาน”

2. การจัดโครงสร้างองค์กร (Organizing)
งานบริหาร คือ กระบวนการทางการจัดการด้านกายภาพที่จำเป็นในการจัดตั้งและการดำเนินงานด้านเทคนิคและงานบริการ
งานบริหาร ได้แก่ งานอาคารสถานที่ งานจัดหา ครุภัณฑ์ งานจัดหาวัสดุสารนิเทศ งานบุคลากร งานการเงิน งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานสารบรรณ งานสถิติและงานจัดทำบันทึก และรายงานผล
งานเทคนิค เป็นงานที่บรรณารักษ์จะต้องจัดทำเกี่ยวกับวัสดุสารนิเทศ นับตั้งแต่คัดเลือกและจัดหาเข้ามาจนกระทั่งจำหน่ายออกไปจากห้องสมุด งานเทคนิคดังกล่าว ได้แก่ การสำรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และโสตทัศนวัสดุ การคัดเลือกและจัดหา การจัดเตรียมหนังสือ การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเลขหมวดหมู่ การทำรายการ การจัดหนังสือขึ้นชั้น การทำดรรชนีวารสาร การทำบรรณานุกรม การทำบรรณนิทัศน์ การซ่อมหนังสือและการจำหน่ายหนังสืออกจากห้องสมุด
งานบริการ คือ การให้บุคคลได้ใช้หนังสือและวัสดุสารนิเทศอย่างอื่นๆ ที่ห้องสมุด จัดหามาเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทั่วไป ความจรรโลงใจและความเพลิดเพลิน
ฝ่ายประสานงาน มีหน้าที่บริหารหรือจัดการในภาพรวมทั้งหมด โดยมีบทบาทสำคัญ 2 บทบาท คือ
1. รับผิดชอบด้านการจัดการและประสานงานในองค์กรทั้งหมด
2. บทบาทของนักประสานงาน เพื่อให้ได้ทรัพยากรตามที่หลายๆ ฝ่ายในองค์กรต้องการ

3. การจัดบุคลากร (Staffing)
บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานดังนี้
1) ทราบแหล่งข้อมูลสารสนเทศ : ว่าข้อมูลมาจากที่ใด วิธีการเก็บรวบรวม โครงสร้างวิธีการเข้าถึงข้อมูล
2) การจัดการและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ: การวางแผน การตลาด การประเมินผล การประเมินความต้องการพื้นฐาน
3) ทราบระบบและรูปแบบการสื่อสาร: ว่าเทคโนโลยีสนับสนุนกิจกรรมได้อย่างไร ทราบปัญหาและโอกาส
4) วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม: กฎหมาย นโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาแห่งชาติ และแนวโน้มของเทคโนโลยี
5) มีทักษะการจัดการ: ทรัพยากรมนุษย์ การเงิน สถิติ การจัดการโครงการการฝึกอบรม รูปแบบของการสร้างความร่วมมือ


4. การประสานงาน (Coordinating)
การประสานงาน หมายถึง การประสานสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหรือทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายขององค์การ การประสานนี้จะต้องจัดให้มีทุกขั้นตอนของการบริหาร เพราะจะช่วยทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมายได้อย่าราบรื่น รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สร้างขวัญและกำลังใจทั้งภายในและภายยอกองค์การ และป้องกันการซับซ้อนของงานที่อาจจะเกิดขึ้นขณะดำเนินการ การประสานงานจะมีการประสานงานทั้งระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ

5. การจัดสรรทรัพยากร (Allocating Resources)
การจัดสรรทรัพยากร หมายถึง การจัดสรรสิ่งต่างๆ เพื่อใช้ในการดำเนินงานของ องค์การการจัดสรรจะต้องให้เพียงพอที่จะดำเนินการให้ได้ตามแผนที่กำหนดไว้ โดยกำหนดแหล่งทรัพยากรในด้านเงินทุน งบประมาณ การจัดสรรทั้งรายรับและรายจ่าย วัตถุดิบที่จะจัดสรรให้แต่ละหน่วยงานย่อย ตลอดจนกระบวนการจัดการในด้านต่างๆ

6. การอำนวยการ (Directing)
การอำนวยการ หมายถึง การที่ผูบริหารใช้ความสามารถทำให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติงานไปในแนวทางที่ต้องการ ซึ่งจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการจูงใจ การติดต่อสื่อสาร และความเป็นผู้นำของผ็บริหาร การอำนวยการหรือการสั่งการ เป็นการมอบหมายและสั่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบและนำไปปฏิบัติ แต่ถ้าจะพิจารณาในทางกว้าง จะหมายถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวกในการปฎิบัติงาน

7. การรายงาน (Reporting)
การจัดทำรายงานทุกระยะระหว่างการดำเนินการเพื่อเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การ การจัดทำรายงานระหว่างการดำเนินการจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารและสมาชิกขององค์การได้รับทราบความเคลื่อนไหว และความคืบหน้าของกิจกรรมในองค์การอย่างสม่ำเสมอ

8. การประเมินผล (Evaluating)
เป็นการวัดผลและประเมินผลการดำเนินการของกิจกรรมตามกำหนดเวลาที่วางแผนไว้ การติดตามประเมินผลการทำงานจะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้แน่ใจว่ากิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผนงานและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

บันทึกการเรียนนการสอนวันที่ 9 ก.ค.

บันทึกการเรียนนการสอนวันที่ 9 ก.ค. เรื่อง ศูนย์วิทยบริการ


ความหมายของศูนย์วิทยบริการ

ศูนย์วิทยบริการหมายถึง สถานที่รวบรวมสื่อการสอน ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการศึกษาโดยมีการบริการ การผลิต การจัดเก็บ การจัดหา การฝึกอบรมและการบริการข้อมูลทางสารสนเทศ และวิชาการอย่างมีระบบ จุดประสงค์เพื่อำนวยความสะดวกแก่ครูผู้สอน
ผู้เรียนและผู้ที่ต้องการแสวงหาความรู้ความสามารถเข้ามาศึกษาทั้งรายกลุ่ม และรายบุคคลเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษานั้นๆ


การบริการของศูนย์วิทยบริการ

1. เป็นแหล่งข้อมูล เป็นแหล่งการศึกษา เป็นแหล่งวัฒนธรรม เป็นแหล่งนันทนาการ
2. เป็นองค์การการบริการ ที่ไม่หวังผลกำไร
3. เน้นการบริการ การผลิต และจัดหาข้อมูล
4. มีสื่อสิ่งพิมพ์ , สื่อที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์
5. มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ และพื้นที่สำหรับการผลิตงานของครูและนักเรียน
6. มีเจ้าหน้าที่ที่ความรู้ความสามารถในการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยี และปฏิบัติงานได้เต็มเวลาคอยให้ความช่วยเหลือ พัฒนาทักษะการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของแก่ผู้ใช้
7. บริการค้นหาข้อมูลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวกให้ครู อาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา
เข้ามาใช้ได้ตลอดเวลาที่เปิดทำการ และมีการจัดตารางการใช้งานที่ยืดหยุ่น
8. ร่วมมือกับศูนย์สื่อ/ห้องสมุดอื่นเพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
9. สนับสนุนกิจกรรมและการดำเนินงานของโรงเรียน นำเป้าหมายของหลักสูตรการเรียนการสอนมาเป็นเป้าหมายในการดำเนินการ
10. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการให้สิ่งอำนวยความสะดวก จัดบรรยากาศสำหรับการเรียนรู้ แนะนำสถานที่ การ เลือก การใช้สื่อ
11. ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
12. เป็นแหล่งข้อมูลและการสื่อสารสำหรับผู้ปกครองและชุมชน


หน้าที่ของศูนย์วิทยบริการ ได้แก่ บริการให้ยืมสื่อการศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์ การคัดเลือก จัดหา และผลิตสื่อการศึกษา ให้คำปรึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับ การผลิต การใช้สื่อการศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์ ดูแล บำรุงรักษาและซ่อมแซมสื่อการศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์

เหตุผลของการมีศูนย์สื่อการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพราะความรู้ไม่จำกัดอยู่เพียงตำราอย่างเดียว ครูผู้สอนเป็นบุคคลสำคัญในการชี้แนะและส่งเสริมผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง รู้จักค้นพบและใช้วัสดุอุปกรณ์ หน้าที่ทางการศึกษาของศูนย์สื่อการสอนในโรงเรียน ได้แก่
1. สนองการสอนเป็นกลุ่มสำหรับการเรียนรู้โดยทั่วไป
2. บริการสื่อเพื่อการสัมมนา ประชุม และโครงงาน
3. สนองตอบการศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระด้วยสื่อวัสดุอุปกรณ์
4. จัดสถานที่สำหรับการผลิตวัสดุอุปกรณ์ของครูและนักเรียน
5. พัฒนาทักษะการอ่าน การฟังและการดู
6. แนะนำผู้ใช้ให้ทราบถึงแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน
7. พิจารณาและเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตร
8. พิจารณาและเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัยวุฒิและความสนใจของผู้เรียน
9. พิจารณาและเลือกวัสดุอุปกรณ์สำหรับการพัฒนารายวิชาต่างๆ
10. แนะนำสื่อและวิธีการใช้


ศูนย์วิทยบริการ เป็นแหล่งรวมกระบวนการเรียนการสอน ที่มีหน้าที่ดังนี้คือ
1. ให้การบริการ ผู้เรียนและเรื่องที่เกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะวิชา
2. วางแผนร่วมกับครูผู้สอนเป็นรายบุคคลและประชุมร่วมกับครู เพื่อบูรณาการและการบริการที่สนองต่อกิจกรรมที่หลากหลายของสถานศึกษา
3. ออกแบบสื่อ
4. บริการให้ผู้เรียนทั้งรายบุคคลหรือเป็นรายกลุ่มได้เข้ามาใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้
5. จัดหาและจัดซื้อสื่อการเรียนที่จำเป็นและเหมาะสมกับผู้เรียนและหลักสูตร
6. ประเมินประสิทธิภาพของสื่อ


การบริการถือเป็นหัวใจสำคัญของศูนย์วิทยบริการ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างหลากหลายต่อผู้เรียน ผู้สอน ผู้ใช้บริการและ
สถาบัน หน้าที่ของศูนย์วิทยบริการ คือการบริการและสนับสนุนการเรียนการสอนของผู้เรียนและครู ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ในรูปของสื่อต่างๆ การให้ปรึกษา และอำนวยประโยชน์ในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ต่อผู้ที่มาใช้บริกา

บันทึกการเรียนการสอนวันที่2 ก.ค.

บันทึกการเรียนการสอนวันที่2 ก.ค.

สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆที่นำความรู้ไปสู่ผู้เรียนหรือช่องทางหรือเครื่องมือที่ช่วยให้สารอาศัยผ่าน อาจอยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed media) หรือสื่อไม่ตีพิมพ์ (Non-printed Media) ก็ได้ สื่อที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์จะหมายถึง วัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์ และวิธีการทางโสตทัศนศึกษารวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเรียกรวมๆว่าโสตทัศนูปกรณ์ (Audiovisual Aids) คำว่าโสตทัศนูปกรณ์ในภาษาอังกฤษมีใช้กันอยู่หลายคำ เช่น Non-printed Materials Audiovisual Materials Audiovisual Media Non-printed Media เป็นต้น ซึ่งคำเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความหมายคล้ายคลึงกันกล่าวคือเป็นสื่อหรือวัสดุที่ต้องใช้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหูและตา

ศูนย์สื่อการสอน หมายถึง ศูนย์ของโสตทัศนวัสดุ (Audiovisual Materials) สิ่งพิมพ์และเครื่องมือต่างๆ เป็นสถานที่รวบรวมสื่อการสอน เก็บพัสดุและการใช้นวัตกรรมอื่นๆรวมทั้งการให้บริการสื่อไปสู่ชั้นเรียน ห้องปฏิบัติการในโรงเรียน ซึ่งได้มีการจัดการระเบียบสถานที่และผู้ร่วมงานเพื่อสนองความต้องการของผู้สอนและผู้เรียนตามจุดหมายของการศึกษา

ศูนย์สื่อการศึกษา หมายถึง ศูนย์หรือหน่วยงานที่ให้บริการเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนความเคลื่อนไหว ความก้าวหน้าต่างๆ เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จุดมุ่งหมายในการดำเนินงานศูนย์สื่อการศึกษา

กระบวนการการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของผู้เรียนและการจัดกระบวนการการสอนของครูจะไม่บังเกิดผลถ้าปราศจากแหล่งความรู้ในทางการศึกษา ดังนั้นศูนย์สื่อจึงมีบทบาทสำคัญ ช่วยให้ครูผู้สอนและผู้เรียนดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาได้ จุดมุ่งหมายในการดำเนินงานที่สำคัญมีดังนี้
1. เป็นแหล่งบริการและอำนวยความสะดวกในด้านการผลิตสื่อสำหรับผู้สอนและผู้เรียน
2. ให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ประกอบในการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง
3. เป็นแหล่งค้นคว้าและวิจัยเทคนิคการเรียนการสอนใหม่ๆ
4. ช่วยเหลือผู้เรียนในการพัฒนาความรู้โดยใช้สื่อหลายรูปแบบ
5. ให้ความร่วมและประสานความรวมมือในการใช้วัสดุอุปกรณ์ภายในสถาบันและภายนอกสถาบัน
6. ให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ตามความสามารถและความสนใจของบุคคล
7. เป็นแหล่งรวมวัสดุอุปกรณ์ที่กระจัดกระจายในแต่ละหน่วยงานในสถานศึกษา ให้สามารถนำมาใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ
8. ใช้เป็นสถานที่เลือกสรรมาตรฐานของสื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอน
9. เพื่อเป็นสถานที่ประสานที่ประสานประโยชน์ด้านห้องสมุดและโสตทัศน์เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นแหล่งความรู้อันสมบูรณ์


ประเภทของศูนย์สื่อการศึกษา

1. ศูนย์การศึกษาภายในสถาบันการศึกษา โดยศูนย์การศึกษาประเภทนี้สถาบันการศึกษาได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์บริการสื่อ บางที่เรียกว่า Unified Media Center
2. ศูนย์สื่อการศึกษาสำหรับกลุ่มโรงเรียน
3. ศูนย์สื่อสารการศึกษาทั่วไป

คุณค่าของศูนย์สื่อสารการศึกษา
1. ผู้สอนใช้เป็นแหล่งความรู้ เพื่อการศึกษาค้นคว้าที่เป็นประโยชน์ต่อการเตรียมการสอน
2. ผู้เรียนใช้เป็นที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆได้อย่างอิสระ
3. เป็นสถานที่ฝึกอบรม สัมมนา แนะนำวิทยาการใหม่ๆ
4. เป็นแหล่งความรู้ของชุมชนเปิดโอกาสใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม


ข้อมูลโดย www.dei.ac.th/ac/06.doc

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บันทึกเรื่องราว วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนในวันที่ 25 มิถุนายน 2553



วันนี้อาจารย์ให้ทำ E-Learning ของมหาวิทยาลัยบูรพา
ให้ทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับศูนย์การเรียนรู้ซึ่งนำข้อมูลมาจากเอกสารความรู้ การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ Learning Resources Center Management จากการดาวน์โลหดhttp://ncourse.buu.ac.th/file.php/443/_1.doc

ความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้ผ่าน e-learning กับการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบ ดูสไลด์แล้วจดบันทึกลงสมุด ดิฉันคิดว่า ดิฉันชอบเรียนแบบ ระบบ e- learning มากกว่าการเรียนรู้ตามสไลด์แล้วจด เพราะการเรียน e-learningสะดวก ในการทำงาน ไม่ต้องมานั่งเขียน และสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์อื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ เป็นการใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้การเรียนการสอนนั้นมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น



วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 ก้าวทันเทคโนโลยีการจัดการด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว้บบล้อค


ทฤษฎีการจัดการ

1.ความคิดทางการจัดการในยุคเริ่มแรก (Early Management Thought) (อดีต – 1880)
2.ทฤษฎีการจัดการแบบดั้งเดิม (The Classical Management Theory) (1880 – 1930)
3.ทฤษฎีการจัดการเชิงพฤติกรรม (The Behavioral Management Theory) (1930 – 1950)
4.ทฤษฎีวิทยาการจัดการ (The Management Science Management Theory) (1940 - 1990)
5.ทฤษฎีการจัดการในยุคปัจจุบัน (The Contemporary Management Theory) (1950 - ปัจจุบัน)



ความคิดทางการจัดการในยุคเริ่มแรก (อดีต-1880)

1.John Kay ได้ประดิษฐ์กระสวยทอผ้าในปี 1733
2.James Hargreaves ได้คิดค้นเปลี่ยนตำแหน่งวงล้อปั่นฝ้ายจากแนวตั้งเป็นแนวนอนในปี 1765
3.จากนวัตกรรมดังกล่าวทำให้อุตสาหกรรมทอผ้าของอังกฤษเข้าสู่การผลิตในลักษณะโรงงานโดยโรงงานบางแห่งมีคนงานถึง 5,000 คน
4.การพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำ โดย James Watt ได้คิดค้นขึ้นในปี 1765 แต่เนื่องจากติดปัญหาด้านการเงินในการพัฒนาต้นแบบจึงต้องใช้เวลาถึง 11 ปี โดยปี 1776
5.Adam Smith และ James Watt ผู้ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมและการค้าในประเทศอังกฤษ โดย Adam Smith ก่อให้เกิดการปฏิวัติความคิดด้านเศรษฐกิจ ส่วน James Watt ก่อให้เกิดการปฏิวัติด้านการใช้พลังงานไอน้ำ

ทฤษฎีการจัดการแบบเดิม (1880-1930)
ในทฤษฎีการจัดการแบบเดิม (Classical Management Theory) ได้มีสำนักคิดที่สำคัญ 2 สำนัก คือ
1.การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
2.ทฤษฎีองค์การแบบเดิม (Classical Organization Theory)

ทฤษฎีการจัดการเชิงพฤติกรรมและขบวนการมนุษยสัมพันธ์ (ปี 1930-1950)

-Follett ได้โต้แย้งว่าคนงานคือผู้ที่รู้ดีที่สุดเกี่ยวกับงาน ดังนั้นคนงานควรจะทำการวิเคราะห์งานและผู้จัดการควรอนุญาตให้คนงานได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนางาน
-งานวิจัย “Hawthorne Study” ซึ่งได้เริ่มในปี 1924 โดย National Academy of Sciences
-Room Studies (1924 – 1927)
-Interviewing Studies หรือ Relay Assembly Test Experiments (1927 – 1932)
-Observational Studies (1931 – 1932)
-Abraham Maslow และ The Hierarchy of Needs
-Douglas McGregor และ Theory X and Theory Y

ทฤษฎีวิทยาการจัดการ (ปี 1940-1990)

1.การจัดการเชิงปริมาณ (quantitative management)
2.การจัดการการผลิต (operations management)
3.การจัดการคุณภาพโดยรวม (total quality management)
4.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information system)

ทฤษฎีการจัดการในยุคปัจจุบัน (1950 - ปัจจุบัน)
-ทฤษฎีเชิงระบบ
-ทฤษฎีตามสถานการณ์
-William G. Ouchi และ Theory Z
-Thomas J. Peters และ Robert H. Waterman, Jr. ใน In Search of Excellence


เครดิด
http://th.answers.yahoo.com/question/
index?qid=20080816084409AAt8vcY



ประโยชน์ของเว้บบล้อค

บล็อกมีประโยชน์อะไรบ้าง จะว่าไปแล้วประโยชน์ของบล็อกก็มีอยู่มากมายขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการอะไรจากบล็อก โดยประโยชน์ของบล็อก สรุปได้ดังนี้

ให้ข่าวสารข้อมูล
เว็บไซต์ของเราเอง เราสามารถที่จะทำตัวเป็น Guru หรือผู้รู้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษได้ ทั้งเรื่องของกีฬา แฟชั่น ดนตรี ภาพยนต์ หรือเรื่องอะไรก็ได้ไม่เว้นแม้แต่เรื่องเหตุบ้านการเมือง แต่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เมื่อเราเป็นฝ่ายให้ข้อมูลไป ก็ต้องระวังเรื่องเสียงตอบรับกลับมาด้วยเช่นกัน
ให้ความคิเห็นและใช้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่สนใจเหมือนกัน
เว็บบล็อกจะมีระบบคอมเมนต์บล็อกที่เราเขียนไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของเราได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนไว้ในบล็อก

พบเจอเพื่อนใหม่ๆ
การมีสังคมบนโลกออนไลน์ง่ายขึ้นเป็นกองด้วยการมีบล็อก เพราะเรื่องราวในบล็อกของเราจะเป็นสื่อที่ทำให้คนอื่นทั่วไปในอินเทอร์เน็ตรู้จักเรามากขึ้น การโพสต์รูปหรือข้อความหาเพื่อนบนอินเทอร์เน้ตดูเหมือนจะเชยไปแล้ว บล็อกให้อะไรที่มากกว่าการโพสต์รูปและข้อความหลายเท่านัก ซึ่งการคอมเมนต์บล็อกช่วยให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและได้เพื่อนใหม่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ค้าขายสินค้าในเว็บบล็อก
บล็อกนั้นก็เป็นเหมือนเว็บไซต์ส่วนตัวของเรา จึงมีหลายคนใช้เว็บบล็อกเป็นแหล่งให้ข้อมูลและใช้โพสต์รูปขายสินค้าไปด้วยเลย แต่ควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีด้วยว่าบล็อกที่คุณสมัครอนุญาตให้ขายสินค้าหรือไม่


สร้างง่ายไม่เสียเงิน
เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ ไม่ต้องซื้อหนังสือเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์เล่มโต ซึ่งช่วยลดเวลาที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวของเราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการเช้าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
อื่นๆ อีกมากมาย


เครดิดจาก http://planet.kapook.com/birdlover/blog/viewnew/91577




ความรู้สึกของกิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้

ฉันรู้สึกสนุกเพราะได้ปฏิบัตได้สร้างบล็อกของตัวเอง ทำให้อยากเรียน อยากเรียนคอมพิวเตอร์อย่างนี้ทุกครั้งทำให้ไม่เบือและได้ความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย



กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 ตั้งความหวังสู่ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในฝัน


สรุปขอบข่ายงานของเทคโนโลยีการศึกษา

1 การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้1.1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design) เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร เรียนในเนื้อหาอะไร การออกแบบ (design) กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้างผลิตสื่อวัสดุการสอน การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน และ การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน

1.1.2 ออกแบบสาร (message design) เป็นการวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน

1.1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์
และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน
ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน

ตัวอย่างโมเดลการสอน












1.1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน





การจัดลำดับประสบการณ์ตามกรวยประสบการณ์ของ เอดการ์เดล






1.2 การพัฒนา (development)
เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ ประกอบด้วย 1.2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print
technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ





ตัวอย่างเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์



1.2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
ตัวอย่างอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์



1.2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา
หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย

ตัวอย่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์



1.2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์








1.3 การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
ประกอบด้วย

1.3.1 การใช้สื่อ (media utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน

1.3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย
รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม

1.3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็ประจำในองค์การ

1.3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations) เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

1.4 การจัดการ (management) เป็นการควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ ประกอบด้วย

1.4.1 การจัดการโครงการ (project management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน

1.4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ 1.4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน

1.4.5 การจัดการสารสนเทศ (information management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน

1.5 การประเมิน (evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน ประกอบด้วย

1.5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ

1.5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion – reference measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

1.5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป

1.5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป










ขอบข่ายของเทคโนโลยีที่กล่าวมา
เป็นขอบข่ายที่นิยมใช้กันอย่างแพร่
หลายเท่านั้น...




















ความหมายของศูนย์

ศูนย์การเรียนรู้ หมายถึง การจัดพื้นที่การเรียนทางกายภาพเพื่อให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคลหรือผู้เรียนในกลุ่มเล็ก ตามงานที่โปรแกรมกำหนดให้ โดยจัดเป็นคูหาหรือโต๊ะ และมีสื่อการเรียนในรูปแบบสื่อประสม ช่วยในการเรียนรู้โดยมีครูผู้สอนคอยแนะนำ ลักษณะของศูนย์การเรียนรู้มีพื้นฐานจากแนวคิดการศึกษาระบบเปิดในช่วงทศวรรษ 1960s ถึง 1970s โดยการจัดพื้นฐานการเรียนให้ผู้เรียนมีโอกาสควบคุมการเรียน เพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมการทำกิจกรรมด้วยตนเองหรือโดยกลุ่ม จะจัดโดยแบ่งกลุ่ม ตามที่ได้รับมอบหมาย การจัดพื้นที่นี้สามารถจัดภายในห้องเรียนในห้องปฏิบัติการ จะจัดโดยแบ่งออกเป็น 4-6 ศูนย์ ภายในห้องหรือศูนย์เดียวกลางห้องหรือมุมใดมุมหนึ่งของห้องหรือแม้แต่ระเบียบทางเดินก็ทำได้แต่ต้องสามารถกำจัดเสียงรบกวนต่าง ๆ ได้ หรือจัดไว้ในห้องสมุด แต่ละศูนย์จะจัดในลักษณะเป็นโต๊ะ 1 ตัว และมีเก้าอี้อยู่โดยรอบเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียน อภิปราย วิจัย แก้ปัญหา หรือทดลองร่วมกัน หรืออาจจัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ที่ต่อเป็น เครือข่ายหรือในลักษณะที่สามารถทำกิจกรรมคนเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็กได้ นอกจากนี้ยังจัดในลักษณะเป็นคูหาเพื่อกำจัดเสียงรบกวนในขณะเรียนหรือทำกิจกรรมจากศูนย์ใกล้เคียง หรือเสียงรบกวนอื่น ที่จะทำให้เสียสมาธิในการเรียน คูหายังแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ คูหาแห้ง (Dry Carrel) และ คูหาเปียก (Wet Carrel)
คูหาแห้งจะประกอบด้วยสื่อการเรียนที่ไม่มีวัสดุอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ ส่วนคูหาเปียกจะประกอบด้วยสื่อการเรียนที่เป็นวัสดุอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ เช่น เทปเสียง ทีวีมอนิเตอร์ เครื่องเล่นแถบวีดีทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สื่อการเรียนที่ประจำในแต่ละศูนย์จะอยู่ในรูปแบบสื่อประสมที่แยกตามกิจกรรม หรือเป็นชุดการเรียนก็ได้ ในการเรียนที่แต่ละศูนย์แยกตามกิจกรรมการเรียนออกจากกัน ผู้เรียนที่แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละ กลุ่มต้องเรียนให้ครบทุกศูนย์ ส่วนศูนย์การเรียนรู้ที่จัดทุกกิจกรรมไว้ในศูนย์เดียว แต่ละกลุ่มต้องเปลี่ยน กันเข้าไปเรียน



เครดิต : http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=8968418567127068123






ความหมายของทรัพยากร

ความหมายของทรัพยากร ทรัพยากรเป็นปัจจัยการผลิต (Factors of Production) ที่มีความสำคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์เพราะมนุษย์เป็นผู้นำเอาทรัพยากรธรรมชาติซึ่งประกอบด้วย ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ บรรยากาศ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เอง การที่มนุษย์จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของทรัพยากร และมนุษย์ผู้ใช้ทรัพยากรนั้นที่จะนำความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยในการพัฒนาทรัพยากรขึ้นมาใช้ได้มากน้อยเพียงไรและรู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่นั้นให้สามารถเกิดประโยชน์แก่มนุษย์และสังคมให้มากที่สุดและนานที่สุดด้วย ดังนั้นประเทศที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ประชาชนรู้จักใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างถูกต้องจะส่งผลดีต่อประชากรทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ และฐานะทางเศรษฐกิจของประชากร ส่วนประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรหรือทรัพยากรที่มีอยู่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมจึงจำเป็นที่จะต้องจัดหาพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพทรัพยากรในประเทศของตนให้ดีขึ้นซึ่งจะมีผลให้การลงทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาในด้านการแข่งขันทางการค้าและการตลาดกับต่างประเทศ ปัจจุบันการพัฒนา และการเพิ่มประชากรจัดเป็นแรงกดดันต่อทรัพยากรเป็นอย่างยิ่งเพราะทำให้ มีการใช้ทรัพยากรอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เสื่อมโทรมหรือสูญสิ้นเร็วขึ้น เช่น การทำลายป่าไม้ทำลายสัตว์ป่าทำลายดินทำลายแหล่งน้ำฯลฯถ้าไม่มีการปรับปรุงแก้ไขสภาพสิ่งแวดล้อมก็จะเปลี่ยนแปลงหรือถูกทำลายลงด้วยและมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ใช้ทรัพยากรก็จะเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของตัวมนุษย์เอง เช่นการเกิดสภาพแห้งแล้งหรือการที่ดินถูกชะล้างพังทลายทำให้ผลผลิตที่ได้จากการเกษตรกรรมลดลง เป็นต้นความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในแง่ของการอนุรักษ์แบ่งได้ 2 ประเภทคือ

1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่สูญสิ้น (Inexhaustible Natural resources) ได้แก่ น้ำในวัฏจักร พลังงานแสงอาทิตย์ และบรรยากาศ

2. ทรัพยากรที่ใช้แล้วสูญสิ้น (Exhaustible Natural resources) ได้แก่ ดิน น้ำในแหล่งน้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า ทรัพยากรมนุษย์ แร่ธาตุ และพลังงานอันเกิดจากสิ่งมีชีวิต(ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติน้ำมัน)ทรัพยากรที่ใช้แล้ว สูญสิ้นสามารถแบ่งได้ตามคุณลักษณะของทรัพยากรเป็น 2 ลักษณะคือ

2.1 ทรัพยากรที่ทดแทนได้และรักษาไว้ได้(Replaceable and maintainable natural
resources) ได้แก่ น้ำในแหล่งน้ำ ที่ดิน ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า ทรัพยากรกำลังงานมนุษย์(human powers)
2.2 ทรัพยากรที่ไม่สามารถสร้างเสริมหรือทดแทนได้ (Irreplaceable Natural resources)
ได้แก่ แร่ธาตุ และสภาพพื้นที่ตามธรรมชาติ (Land in natural condition) เช่น
ทิวทัศน์ที่สวยงาม















เครดิต :http://li00.tripod.com/data/23.html
http://www.sema.go.th/files/Content/science/k4/0035/F01/images/im15.jpg





ความหมายของการเรียนรู้

ความหมายของการเรียนรู้ ความหมายของคำว่า “การเรียนรู้”
มีนักจิตวิทยาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้หลายท่านในที่นี้จะสรุปพอเป็นแนวทางให้เข้าใจดังนี้คือ
การเรียนรู้ หมายถึง การที่มนุษย์ได้รับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเขา โดยเริ่มต้นตั้งแต่การมีปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเรื่อยไป จนกระทั่งคลอดมาเป็นทารกแล้วอยู่รอด ซึ่งบุคคลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองอยู่รอดกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครรภ์มารดาและเมื่อออกมาอยู่ภายนอกเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอดทั้งนี้ก็เพราะการเรียนรู้ทั้งสิ้น การเรียนรู้ มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการสั่งสอน หรือการบอกเล่าให้เข้าใจและจำได้เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของการทำตามแบบ ไม่ได้มีความหมายต่อการเรียนในวิชาต่างๆเท่านั้น แต่ความหมายคลุมไปถึง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการสังเกตพิจารณา ไตร่ตรอง แก้ปัญหาทั้งปวงและไม่ชี้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทางที่สังคมยอมรับเท่านั้น การเรียนรู้เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เป็นความเจริญงอกงาม เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้ต้องเนื่องมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นควรจะต้องมีความคงทนถาวรเหมาะแก่เหตุเมื่อพฤติกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่มุ่งหวัง ก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถาณการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันมีผลมาจากการได้มีประสบการณ์
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดกิจกรรม หรือ กระบวนการที่ทำให้กิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปโดยเป็นผลตอบสนองจากสภาพการณ์หนึ่งซึ่งไม่มช่ปฏิกิริยาธรรมชาติไม่ใช่วุฒิภาวะและไม่ใช่สภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายชั่วครั้งชั่วคราวที่เนื่องมาจากความเหนื่อยล้าหรือฤทธิ์ยา
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่เนื่องมาจากประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมกระทำให้อินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลของการฝึกหัด
จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นอาจสรุปได้ว่า
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ
ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่างๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร










ภาพของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในฝัน




อยากให้ศูนย์ได้รวมข่าวสารความรู้ต่างๆ มีเทคโนโลยีแบบทันสมัย และภายในศูนย์มีบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ สามารถเติมเต็มความรู้ สาระ ของผู้ใช้ได้















เครดิดจากhttp://www.oknation.net/blog/home/blog_data/302

/5302/images/keyvisual.gif







กิจกรรมสัปดาห์ที่ 1 เปิดโลกการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้



สิ่งที่ใฝ่ฝันที่สุดในชีวิต

สิ่งที่ฉันใฝ่ฝันมากที่สุดในชีวติของฉันก็คือค้นหาความใฝ่ฝันของตนเองให้พบแล้วเดินตามมันไปให้ถึงจุดหมายความใฝ่ฝันจะพาเราไปพบกับประสบการณ์ใหม่ ๆฉันใฝฝันไว้ว่าได้เรียนจบรับปริญญาให้ครอบครัว พักตัวเองซักระยะหนึ่งเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไป คือทำงาน ฉันอยากทำงานรับราชการ เผื่อเป็นเกรียติ์ต่อครอบครัว และหลังจากชีวิตลงตัวเอง ก็จะหาความสุขให้ครอบครัว เหมือนที่พ่อกับแม่เคยทำให้เรามาก่อน คือทำให้ท่านมีความสุข ได้พักอยู่บ้าน และฉันจะเป็นคนทำหน้าที่แทนพ่อกับแม่บ้างนี่แหละคือความใฝ่ฝันของฉัน ดังนั้นเราอย่าปล่อยให้ความใฝ่ฝันของเราร่วงโรยเหี่ยวเฉาไปกับวันเวลา เพราะความใฝ่ฝันคือ การแสวงหาที่ไม่มีวันสิ้นสุดในชีวิต

เครดิด http://www.vcharkarn.com/uploads/146/146443.jpg






ศุนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่ข้าพเจ้ารู้จัก คือ

1.ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณสัตว์น้ำวิทยาศาสตร์ทางทะเล
มหาวิทยาลัยบูรพาสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา หรือ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล หรือชื่อที่นิยมเรียกกันว่า พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน เป็นสถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งอยู่ในเนื้อที่ของมหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี
















































เครดิด http://www.aquariumthailand.com/bangsaen-institute-of-marine-science.html





2.ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงฯ ตามแนวพระราชดำริ ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
คู่สมรสคณะรัฐมนตรี ซึ่งมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ต่อเนื่องกันมานับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยจัดกิจกรรมรับสมัครงาน ตรวจสุขภาพและฝึกอาชีพ เพื่อสร้างเสริมโอกาส และให้บริการสวัสดิการแก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาส
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ห่วงใยช่วยเหลือราษฏรในท้องถิ่นห่างไกล ให้มีอาชีพทำกิน มีรายได้เลี้ยงครอบครัว อยู่อย่างมีความสุขและพอเพียงตามวิถีชีวิตแบบไทย ดังนั้นเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๕ คู่สมรสคณะรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวที่บ้านพิษณุโลกว่าจะเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะจัดโครงการถวายเป็นพระราชกุศลแบบยั่งยืน สนองแนวทฤษฏีใหม่และแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งชื่อโครงการว่า ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวสำหรับเยาวชน เกษตรกรและประชาชนทั่วไป โครงการนี้จะดำเนินการทั้ง ๔ ภาคของประเทศ ซึ่งภาคกลางจะใช้พื้นที่ของกองทัพบก บริเวณกองพลทหารราบที่ ๑๑ ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า ต.บางตีนเป็ด อ.เมือง จว.ฉะเชิงเทรา
ต่อมาคู่สมรสคณะรัฐมนตรี มีดำริที่จะเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพรนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ โดยจะจัดโครงการถวายเป็นพระราชกุศลแบบยั่งยืนเช่นกัน และด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ห่วงใยช่วยเหลือราษฏรในท้องถิ่นห่างไกล ด้วยการฝึกอาชีพแก่ชาวบ้านให้สามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างรายได้เสริมเลี้ยงครอบครัว














3. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา รังสิต


ประวัติ

1. ก่อตั้งเมื่อปี 2537

2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์


การจัดแสดง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

1.1 ห้องนิทรรศการถาวร ( ใน - นอกอาคาร )

1.2 ห้องท้องฟ้าจำลอง

1.3 ห้องประชุมสัมมนาห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์













































เครดิด

http://r02.ldd.go.th/cco01/specialproject/learn_eco/learn_eco_01.html

http://www.7wondersthailand.com/wizContent.asp?wizConID=268&txtmMe

http://www.holidaythai.com/images/attraction/science-museum-main.gif




กิจกรรมและความคิดเห็นเกี่ยวกับรายวิชา


อยากให้อาจาร์จัดกิจกรรมนอกห้องเรียน ออกไปศึกษานอกสถานที่ เพราะอยากได้ความรู้ใหม่ๆ เจอบรรยากาศใหม่ๆ ทำให้ไม่เบื่อและเกิดความสนุกเมื่อได้ออกไปศึกษานอกสถานที่