วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนการสอนวันที่ 16 ก.ค.

บันทึกการเรียนการสอนวันที่ 16 ก.ค. เรื่อง ระบบการบริหารและจัดการแบบ POSDCARE

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีระบบในการบริหารจัดการที่มีรูปแบบที่หลากหลาย
ซึ่งประกอบด้วย POSDCARE คือ การวางแผน การจัดองค์กร การจัดบุคลากร การอำนวยการ การประสานงาน การจัดสรรทรัพยากร การรายงาน และการประเมิน


1. การวางแผน (Planning)
แนวทางแรก หมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
หลายๆ ด้าน คือการกำหนดวัตถุประสงค์ การจูงใจ การสื่อความ การวัดผลงานและการพัฒนาคน สำหรับ
แนวทางที่สองมีความหมายกว้างกว่า คือ การวางแผนเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารที่ต้อง
กระทำอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมถึงงานทุกอย่างขององค์การ และเป็นเรื่องที่มุ่งถึงอนาคตเป็นสำคัญ การวางแผนจะต้องครอบคลุมองค์ประกอบ ดังนี้คือ “เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ วิธีดำเนินการ เกณฑ์กำหนดมาตรฐาน งบประมาณและแผนงาน”

2. การจัดโครงสร้างองค์กร (Organizing)
งานบริหาร คือ กระบวนการทางการจัดการด้านกายภาพที่จำเป็นในการจัดตั้งและการดำเนินงานด้านเทคนิคและงานบริการ
งานบริหาร ได้แก่ งานอาคารสถานที่ งานจัดหา ครุภัณฑ์ งานจัดหาวัสดุสารนิเทศ งานบุคลากร งานการเงิน งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานสารบรรณ งานสถิติและงานจัดทำบันทึก และรายงานผล
งานเทคนิค เป็นงานที่บรรณารักษ์จะต้องจัดทำเกี่ยวกับวัสดุสารนิเทศ นับตั้งแต่คัดเลือกและจัดหาเข้ามาจนกระทั่งจำหน่ายออกไปจากห้องสมุด งานเทคนิคดังกล่าว ได้แก่ การสำรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และโสตทัศนวัสดุ การคัดเลือกและจัดหา การจัดเตรียมหนังสือ การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเลขหมวดหมู่ การทำรายการ การจัดหนังสือขึ้นชั้น การทำดรรชนีวารสาร การทำบรรณานุกรม การทำบรรณนิทัศน์ การซ่อมหนังสือและการจำหน่ายหนังสืออกจากห้องสมุด
งานบริการ คือ การให้บุคคลได้ใช้หนังสือและวัสดุสารนิเทศอย่างอื่นๆ ที่ห้องสมุด จัดหามาเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทั่วไป ความจรรโลงใจและความเพลิดเพลิน
ฝ่ายประสานงาน มีหน้าที่บริหารหรือจัดการในภาพรวมทั้งหมด โดยมีบทบาทสำคัญ 2 บทบาท คือ
1. รับผิดชอบด้านการจัดการและประสานงานในองค์กรทั้งหมด
2. บทบาทของนักประสานงาน เพื่อให้ได้ทรัพยากรตามที่หลายๆ ฝ่ายในองค์กรต้องการ

3. การจัดบุคลากร (Staffing)
บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานดังนี้
1) ทราบแหล่งข้อมูลสารสนเทศ : ว่าข้อมูลมาจากที่ใด วิธีการเก็บรวบรวม โครงสร้างวิธีการเข้าถึงข้อมูล
2) การจัดการและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ: การวางแผน การตลาด การประเมินผล การประเมินความต้องการพื้นฐาน
3) ทราบระบบและรูปแบบการสื่อสาร: ว่าเทคโนโลยีสนับสนุนกิจกรรมได้อย่างไร ทราบปัญหาและโอกาส
4) วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม: กฎหมาย นโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาแห่งชาติ และแนวโน้มของเทคโนโลยี
5) มีทักษะการจัดการ: ทรัพยากรมนุษย์ การเงิน สถิติ การจัดการโครงการการฝึกอบรม รูปแบบของการสร้างความร่วมมือ


4. การประสานงาน (Coordinating)
การประสานงาน หมายถึง การประสานสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหรือทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายขององค์การ การประสานนี้จะต้องจัดให้มีทุกขั้นตอนของการบริหาร เพราะจะช่วยทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมายได้อย่าราบรื่น รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สร้างขวัญและกำลังใจทั้งภายในและภายยอกองค์การ และป้องกันการซับซ้อนของงานที่อาจจะเกิดขึ้นขณะดำเนินการ การประสานงานจะมีการประสานงานทั้งระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ

5. การจัดสรรทรัพยากร (Allocating Resources)
การจัดสรรทรัพยากร หมายถึง การจัดสรรสิ่งต่างๆ เพื่อใช้ในการดำเนินงานของ องค์การการจัดสรรจะต้องให้เพียงพอที่จะดำเนินการให้ได้ตามแผนที่กำหนดไว้ โดยกำหนดแหล่งทรัพยากรในด้านเงินทุน งบประมาณ การจัดสรรทั้งรายรับและรายจ่าย วัตถุดิบที่จะจัดสรรให้แต่ละหน่วยงานย่อย ตลอดจนกระบวนการจัดการในด้านต่างๆ

6. การอำนวยการ (Directing)
การอำนวยการ หมายถึง การที่ผูบริหารใช้ความสามารถทำให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติงานไปในแนวทางที่ต้องการ ซึ่งจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการจูงใจ การติดต่อสื่อสาร และความเป็นผู้นำของผ็บริหาร การอำนวยการหรือการสั่งการ เป็นการมอบหมายและสั่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบและนำไปปฏิบัติ แต่ถ้าจะพิจารณาในทางกว้าง จะหมายถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวกในการปฎิบัติงาน

7. การรายงาน (Reporting)
การจัดทำรายงานทุกระยะระหว่างการดำเนินการเพื่อเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การ การจัดทำรายงานระหว่างการดำเนินการจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารและสมาชิกขององค์การได้รับทราบความเคลื่อนไหว และความคืบหน้าของกิจกรรมในองค์การอย่างสม่ำเสมอ

8. การประเมินผล (Evaluating)
เป็นการวัดผลและประเมินผลการดำเนินการของกิจกรรมตามกำหนดเวลาที่วางแผนไว้ การติดตามประเมินผลการทำงานจะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้แน่ใจว่ากิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผนงานและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น