วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 ตั้งความหวังสู่ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในฝัน


สรุปขอบข่ายงานของเทคโนโลยีการศึกษา

1 การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้1.1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design) เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร เรียนในเนื้อหาอะไร การออกแบบ (design) กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้างผลิตสื่อวัสดุการสอน การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน และ การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน

1.1.2 ออกแบบสาร (message design) เป็นการวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน

1.1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์
และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน
ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน

ตัวอย่างโมเดลการสอน












1.1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน





การจัดลำดับประสบการณ์ตามกรวยประสบการณ์ของ เอดการ์เดล






1.2 การพัฒนา (development)
เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ ประกอบด้วย 1.2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print
technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ





ตัวอย่างเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์



1.2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
ตัวอย่างอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์



1.2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา
หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย

ตัวอย่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์



1.2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์








1.3 การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
ประกอบด้วย

1.3.1 การใช้สื่อ (media utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน

1.3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย
รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม

1.3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็ประจำในองค์การ

1.3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations) เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

1.4 การจัดการ (management) เป็นการควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ ประกอบด้วย

1.4.1 การจัดการโครงการ (project management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน

1.4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ 1.4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน

1.4.5 การจัดการสารสนเทศ (information management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน

1.5 การประเมิน (evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน ประกอบด้วย

1.5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ

1.5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion – reference measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

1.5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป

1.5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป










ขอบข่ายของเทคโนโลยีที่กล่าวมา
เป็นขอบข่ายที่นิยมใช้กันอย่างแพร่
หลายเท่านั้น...




















ความหมายของศูนย์

ศูนย์การเรียนรู้ หมายถึง การจัดพื้นที่การเรียนทางกายภาพเพื่อให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคลหรือผู้เรียนในกลุ่มเล็ก ตามงานที่โปรแกรมกำหนดให้ โดยจัดเป็นคูหาหรือโต๊ะ และมีสื่อการเรียนในรูปแบบสื่อประสม ช่วยในการเรียนรู้โดยมีครูผู้สอนคอยแนะนำ ลักษณะของศูนย์การเรียนรู้มีพื้นฐานจากแนวคิดการศึกษาระบบเปิดในช่วงทศวรรษ 1960s ถึง 1970s โดยการจัดพื้นฐานการเรียนให้ผู้เรียนมีโอกาสควบคุมการเรียน เพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมการทำกิจกรรมด้วยตนเองหรือโดยกลุ่ม จะจัดโดยแบ่งกลุ่ม ตามที่ได้รับมอบหมาย การจัดพื้นที่นี้สามารถจัดภายในห้องเรียนในห้องปฏิบัติการ จะจัดโดยแบ่งออกเป็น 4-6 ศูนย์ ภายในห้องหรือศูนย์เดียวกลางห้องหรือมุมใดมุมหนึ่งของห้องหรือแม้แต่ระเบียบทางเดินก็ทำได้แต่ต้องสามารถกำจัดเสียงรบกวนต่าง ๆ ได้ หรือจัดไว้ในห้องสมุด แต่ละศูนย์จะจัดในลักษณะเป็นโต๊ะ 1 ตัว และมีเก้าอี้อยู่โดยรอบเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียน อภิปราย วิจัย แก้ปัญหา หรือทดลองร่วมกัน หรืออาจจัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ที่ต่อเป็น เครือข่ายหรือในลักษณะที่สามารถทำกิจกรรมคนเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็กได้ นอกจากนี้ยังจัดในลักษณะเป็นคูหาเพื่อกำจัดเสียงรบกวนในขณะเรียนหรือทำกิจกรรมจากศูนย์ใกล้เคียง หรือเสียงรบกวนอื่น ที่จะทำให้เสียสมาธิในการเรียน คูหายังแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ คูหาแห้ง (Dry Carrel) และ คูหาเปียก (Wet Carrel)
คูหาแห้งจะประกอบด้วยสื่อการเรียนที่ไม่มีวัสดุอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ ส่วนคูหาเปียกจะประกอบด้วยสื่อการเรียนที่เป็นวัสดุอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ เช่น เทปเสียง ทีวีมอนิเตอร์ เครื่องเล่นแถบวีดีทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สื่อการเรียนที่ประจำในแต่ละศูนย์จะอยู่ในรูปแบบสื่อประสมที่แยกตามกิจกรรม หรือเป็นชุดการเรียนก็ได้ ในการเรียนที่แต่ละศูนย์แยกตามกิจกรรมการเรียนออกจากกัน ผู้เรียนที่แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละ กลุ่มต้องเรียนให้ครบทุกศูนย์ ส่วนศูนย์การเรียนรู้ที่จัดทุกกิจกรรมไว้ในศูนย์เดียว แต่ละกลุ่มต้องเปลี่ยน กันเข้าไปเรียน



เครดิต : http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=8968418567127068123






ความหมายของทรัพยากร

ความหมายของทรัพยากร ทรัพยากรเป็นปัจจัยการผลิต (Factors of Production) ที่มีความสำคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์เพราะมนุษย์เป็นผู้นำเอาทรัพยากรธรรมชาติซึ่งประกอบด้วย ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ บรรยากาศ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เอง การที่มนุษย์จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของทรัพยากร และมนุษย์ผู้ใช้ทรัพยากรนั้นที่จะนำความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยในการพัฒนาทรัพยากรขึ้นมาใช้ได้มากน้อยเพียงไรและรู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่นั้นให้สามารถเกิดประโยชน์แก่มนุษย์และสังคมให้มากที่สุดและนานที่สุดด้วย ดังนั้นประเทศที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ประชาชนรู้จักใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างถูกต้องจะส่งผลดีต่อประชากรทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ และฐานะทางเศรษฐกิจของประชากร ส่วนประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรหรือทรัพยากรที่มีอยู่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมจึงจำเป็นที่จะต้องจัดหาพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพทรัพยากรในประเทศของตนให้ดีขึ้นซึ่งจะมีผลให้การลงทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาในด้านการแข่งขันทางการค้าและการตลาดกับต่างประเทศ ปัจจุบันการพัฒนา และการเพิ่มประชากรจัดเป็นแรงกดดันต่อทรัพยากรเป็นอย่างยิ่งเพราะทำให้ มีการใช้ทรัพยากรอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เสื่อมโทรมหรือสูญสิ้นเร็วขึ้น เช่น การทำลายป่าไม้ทำลายสัตว์ป่าทำลายดินทำลายแหล่งน้ำฯลฯถ้าไม่มีการปรับปรุงแก้ไขสภาพสิ่งแวดล้อมก็จะเปลี่ยนแปลงหรือถูกทำลายลงด้วยและมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ใช้ทรัพยากรก็จะเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของตัวมนุษย์เอง เช่นการเกิดสภาพแห้งแล้งหรือการที่ดินถูกชะล้างพังทลายทำให้ผลผลิตที่ได้จากการเกษตรกรรมลดลง เป็นต้นความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในแง่ของการอนุรักษ์แบ่งได้ 2 ประเภทคือ

1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่สูญสิ้น (Inexhaustible Natural resources) ได้แก่ น้ำในวัฏจักร พลังงานแสงอาทิตย์ และบรรยากาศ

2. ทรัพยากรที่ใช้แล้วสูญสิ้น (Exhaustible Natural resources) ได้แก่ ดิน น้ำในแหล่งน้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า ทรัพยากรมนุษย์ แร่ธาตุ และพลังงานอันเกิดจากสิ่งมีชีวิต(ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติน้ำมัน)ทรัพยากรที่ใช้แล้ว สูญสิ้นสามารถแบ่งได้ตามคุณลักษณะของทรัพยากรเป็น 2 ลักษณะคือ

2.1 ทรัพยากรที่ทดแทนได้และรักษาไว้ได้(Replaceable and maintainable natural
resources) ได้แก่ น้ำในแหล่งน้ำ ที่ดิน ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า ทรัพยากรกำลังงานมนุษย์(human powers)
2.2 ทรัพยากรที่ไม่สามารถสร้างเสริมหรือทดแทนได้ (Irreplaceable Natural resources)
ได้แก่ แร่ธาตุ และสภาพพื้นที่ตามธรรมชาติ (Land in natural condition) เช่น
ทิวทัศน์ที่สวยงาม















เครดิต :http://li00.tripod.com/data/23.html
http://www.sema.go.th/files/Content/science/k4/0035/F01/images/im15.jpg





ความหมายของการเรียนรู้

ความหมายของการเรียนรู้ ความหมายของคำว่า “การเรียนรู้”
มีนักจิตวิทยาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้หลายท่านในที่นี้จะสรุปพอเป็นแนวทางให้เข้าใจดังนี้คือ
การเรียนรู้ หมายถึง การที่มนุษย์ได้รับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเขา โดยเริ่มต้นตั้งแต่การมีปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเรื่อยไป จนกระทั่งคลอดมาเป็นทารกแล้วอยู่รอด ซึ่งบุคคลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองอยู่รอดกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครรภ์มารดาและเมื่อออกมาอยู่ภายนอกเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอดทั้งนี้ก็เพราะการเรียนรู้ทั้งสิ้น การเรียนรู้ มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าการสั่งสอน หรือการบอกเล่าให้เข้าใจและจำได้เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของการทำตามแบบ ไม่ได้มีความหมายต่อการเรียนในวิชาต่างๆเท่านั้น แต่ความหมายคลุมไปถึง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการสังเกตพิจารณา ไตร่ตรอง แก้ปัญหาทั้งปวงและไม่ชี้ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทางที่สังคมยอมรับเท่านั้น การเรียนรู้เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เป็นความเจริญงอกงาม เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้ต้องเนื่องมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นควรจะต้องมีความคงทนถาวรเหมาะแก่เหตุเมื่อพฤติกรรมดั้งเดิมเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมที่มุ่งหวัง ก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถาณการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันมีผลมาจากการได้มีประสบการณ์
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดกิจกรรม หรือ กระบวนการที่ทำให้กิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปโดยเป็นผลตอบสนองจากสภาพการณ์หนึ่งซึ่งไม่มช่ปฏิกิริยาธรรมชาติไม่ใช่วุฒิภาวะและไม่ใช่สภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายชั่วครั้งชั่วคราวที่เนื่องมาจากความเหนื่อยล้าหรือฤทธิ์ยา
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่เนื่องมาจากประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมกระทำให้อินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลของการฝึกหัด
จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นอาจสรุปได้ว่า
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ
ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่างๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร










ภาพของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในฝัน




อยากให้ศูนย์ได้รวมข่าวสารความรู้ต่างๆ มีเทคโนโลยีแบบทันสมัย และภายในศูนย์มีบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ สามารถเติมเต็มความรู้ สาระ ของผู้ใช้ได้















เครดิดจากhttp://www.oknation.net/blog/home/blog_data/302

/5302/images/keyvisual.gif







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น