วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนการสอนวันที่ 16 ก.ค.

บันทึกการเรียนการสอนวันที่ 16 ก.ค. เรื่อง ระบบการบริหารและจัดการแบบ POSDCARE

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีระบบในการบริหารจัดการที่มีรูปแบบที่หลากหลาย
ซึ่งประกอบด้วย POSDCARE คือ การวางแผน การจัดองค์กร การจัดบุคลากร การอำนวยการ การประสานงาน การจัดสรรทรัพยากร การรายงาน และการประเมิน


1. การวางแผน (Planning)
แนวทางแรก หมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
หลายๆ ด้าน คือการกำหนดวัตถุประสงค์ การจูงใจ การสื่อความ การวัดผลงานและการพัฒนาคน สำหรับ
แนวทางที่สองมีความหมายกว้างกว่า คือ การวางแผนเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารที่ต้อง
กระทำอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมถึงงานทุกอย่างขององค์การ และเป็นเรื่องที่มุ่งถึงอนาคตเป็นสำคัญ การวางแผนจะต้องครอบคลุมองค์ประกอบ ดังนี้คือ “เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ วิธีดำเนินการ เกณฑ์กำหนดมาตรฐาน งบประมาณและแผนงาน”

2. การจัดโครงสร้างองค์กร (Organizing)
งานบริหาร คือ กระบวนการทางการจัดการด้านกายภาพที่จำเป็นในการจัดตั้งและการดำเนินงานด้านเทคนิคและงานบริการ
งานบริหาร ได้แก่ งานอาคารสถานที่ งานจัดหา ครุภัณฑ์ งานจัดหาวัสดุสารนิเทศ งานบุคลากร งานการเงิน งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานสารบรรณ งานสถิติและงานจัดทำบันทึก และรายงานผล
งานเทคนิค เป็นงานที่บรรณารักษ์จะต้องจัดทำเกี่ยวกับวัสดุสารนิเทศ นับตั้งแต่คัดเลือกและจัดหาเข้ามาจนกระทั่งจำหน่ายออกไปจากห้องสมุด งานเทคนิคดังกล่าว ได้แก่ การสำรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และโสตทัศนวัสดุ การคัดเลือกและจัดหา การจัดเตรียมหนังสือ การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเลขหมวดหมู่ การทำรายการ การจัดหนังสือขึ้นชั้น การทำดรรชนีวารสาร การทำบรรณานุกรม การทำบรรณนิทัศน์ การซ่อมหนังสือและการจำหน่ายหนังสืออกจากห้องสมุด
งานบริการ คือ การให้บุคคลได้ใช้หนังสือและวัสดุสารนิเทศอย่างอื่นๆ ที่ห้องสมุด จัดหามาเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทั่วไป ความจรรโลงใจและความเพลิดเพลิน
ฝ่ายประสานงาน มีหน้าที่บริหารหรือจัดการในภาพรวมทั้งหมด โดยมีบทบาทสำคัญ 2 บทบาท คือ
1. รับผิดชอบด้านการจัดการและประสานงานในองค์กรทั้งหมด
2. บทบาทของนักประสานงาน เพื่อให้ได้ทรัพยากรตามที่หลายๆ ฝ่ายในองค์กรต้องการ

3. การจัดบุคลากร (Staffing)
บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานดังนี้
1) ทราบแหล่งข้อมูลสารสนเทศ : ว่าข้อมูลมาจากที่ใด วิธีการเก็บรวบรวม โครงสร้างวิธีการเข้าถึงข้อมูล
2) การจัดการและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ: การวางแผน การตลาด การประเมินผล การประเมินความต้องการพื้นฐาน
3) ทราบระบบและรูปแบบการสื่อสาร: ว่าเทคโนโลยีสนับสนุนกิจกรรมได้อย่างไร ทราบปัญหาและโอกาส
4) วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม: กฎหมาย นโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาแห่งชาติ และแนวโน้มของเทคโนโลยี
5) มีทักษะการจัดการ: ทรัพยากรมนุษย์ การเงิน สถิติ การจัดการโครงการการฝึกอบรม รูปแบบของการสร้างความร่วมมือ


4. การประสานงาน (Coordinating)
การประสานงาน หมายถึง การประสานสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหรือทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายขององค์การ การประสานนี้จะต้องจัดให้มีทุกขั้นตอนของการบริหาร เพราะจะช่วยทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมายได้อย่าราบรื่น รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สร้างขวัญและกำลังใจทั้งภายในและภายยอกองค์การ และป้องกันการซับซ้อนของงานที่อาจจะเกิดขึ้นขณะดำเนินการ การประสานงานจะมีการประสานงานทั้งระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ

5. การจัดสรรทรัพยากร (Allocating Resources)
การจัดสรรทรัพยากร หมายถึง การจัดสรรสิ่งต่างๆ เพื่อใช้ในการดำเนินงานของ องค์การการจัดสรรจะต้องให้เพียงพอที่จะดำเนินการให้ได้ตามแผนที่กำหนดไว้ โดยกำหนดแหล่งทรัพยากรในด้านเงินทุน งบประมาณ การจัดสรรทั้งรายรับและรายจ่าย วัตถุดิบที่จะจัดสรรให้แต่ละหน่วยงานย่อย ตลอดจนกระบวนการจัดการในด้านต่างๆ

6. การอำนวยการ (Directing)
การอำนวยการ หมายถึง การที่ผูบริหารใช้ความสามารถทำให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติงานไปในแนวทางที่ต้องการ ซึ่งจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการจูงใจ การติดต่อสื่อสาร และความเป็นผู้นำของผ็บริหาร การอำนวยการหรือการสั่งการ เป็นการมอบหมายและสั่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบและนำไปปฏิบัติ แต่ถ้าจะพิจารณาในทางกว้าง จะหมายถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวกในการปฎิบัติงาน

7. การรายงาน (Reporting)
การจัดทำรายงานทุกระยะระหว่างการดำเนินการเพื่อเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การ การจัดทำรายงานระหว่างการดำเนินการจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารและสมาชิกขององค์การได้รับทราบความเคลื่อนไหว และความคืบหน้าของกิจกรรมในองค์การอย่างสม่ำเสมอ

8. การประเมินผล (Evaluating)
เป็นการวัดผลและประเมินผลการดำเนินการของกิจกรรมตามกำหนดเวลาที่วางแผนไว้ การติดตามประเมินผลการทำงานจะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้แน่ใจว่ากิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผนงานและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

บันทึกการเรียนนการสอนวันที่ 9 ก.ค.

บันทึกการเรียนนการสอนวันที่ 9 ก.ค. เรื่อง ศูนย์วิทยบริการ


ความหมายของศูนย์วิทยบริการ

ศูนย์วิทยบริการหมายถึง สถานที่รวบรวมสื่อการสอน ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการศึกษาโดยมีการบริการ การผลิต การจัดเก็บ การจัดหา การฝึกอบรมและการบริการข้อมูลทางสารสนเทศ และวิชาการอย่างมีระบบ จุดประสงค์เพื่อำนวยความสะดวกแก่ครูผู้สอน
ผู้เรียนและผู้ที่ต้องการแสวงหาความรู้ความสามารถเข้ามาศึกษาทั้งรายกลุ่ม และรายบุคคลเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษานั้นๆ


การบริการของศูนย์วิทยบริการ

1. เป็นแหล่งข้อมูล เป็นแหล่งการศึกษา เป็นแหล่งวัฒนธรรม เป็นแหล่งนันทนาการ
2. เป็นองค์การการบริการ ที่ไม่หวังผลกำไร
3. เน้นการบริการ การผลิต และจัดหาข้อมูล
4. มีสื่อสิ่งพิมพ์ , สื่อที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์
5. มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ และพื้นที่สำหรับการผลิตงานของครูและนักเรียน
6. มีเจ้าหน้าที่ที่ความรู้ความสามารถในการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยี และปฏิบัติงานได้เต็มเวลาคอยให้ความช่วยเหลือ พัฒนาทักษะการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของแก่ผู้ใช้
7. บริการค้นหาข้อมูลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวกให้ครู อาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา
เข้ามาใช้ได้ตลอดเวลาที่เปิดทำการ และมีการจัดตารางการใช้งานที่ยืดหยุ่น
8. ร่วมมือกับศูนย์สื่อ/ห้องสมุดอื่นเพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
9. สนับสนุนกิจกรรมและการดำเนินงานของโรงเรียน นำเป้าหมายของหลักสูตรการเรียนการสอนมาเป็นเป้าหมายในการดำเนินการ
10. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการให้สิ่งอำนวยความสะดวก จัดบรรยากาศสำหรับการเรียนรู้ แนะนำสถานที่ การ เลือก การใช้สื่อ
11. ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
12. เป็นแหล่งข้อมูลและการสื่อสารสำหรับผู้ปกครองและชุมชน


หน้าที่ของศูนย์วิทยบริการ ได้แก่ บริการให้ยืมสื่อการศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์ การคัดเลือก จัดหา และผลิตสื่อการศึกษา ให้คำปรึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับ การผลิต การใช้สื่อการศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์ ดูแล บำรุงรักษาและซ่อมแซมสื่อการศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์

เหตุผลของการมีศูนย์สื่อการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพราะความรู้ไม่จำกัดอยู่เพียงตำราอย่างเดียว ครูผู้สอนเป็นบุคคลสำคัญในการชี้แนะและส่งเสริมผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง รู้จักค้นพบและใช้วัสดุอุปกรณ์ หน้าที่ทางการศึกษาของศูนย์สื่อการสอนในโรงเรียน ได้แก่
1. สนองการสอนเป็นกลุ่มสำหรับการเรียนรู้โดยทั่วไป
2. บริการสื่อเพื่อการสัมมนา ประชุม และโครงงาน
3. สนองตอบการศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระด้วยสื่อวัสดุอุปกรณ์
4. จัดสถานที่สำหรับการผลิตวัสดุอุปกรณ์ของครูและนักเรียน
5. พัฒนาทักษะการอ่าน การฟังและการดู
6. แนะนำผู้ใช้ให้ทราบถึงแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน
7. พิจารณาและเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตร
8. พิจารณาและเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัยวุฒิและความสนใจของผู้เรียน
9. พิจารณาและเลือกวัสดุอุปกรณ์สำหรับการพัฒนารายวิชาต่างๆ
10. แนะนำสื่อและวิธีการใช้


ศูนย์วิทยบริการ เป็นแหล่งรวมกระบวนการเรียนการสอน ที่มีหน้าที่ดังนี้คือ
1. ให้การบริการ ผู้เรียนและเรื่องที่เกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะวิชา
2. วางแผนร่วมกับครูผู้สอนเป็นรายบุคคลและประชุมร่วมกับครู เพื่อบูรณาการและการบริการที่สนองต่อกิจกรรมที่หลากหลายของสถานศึกษา
3. ออกแบบสื่อ
4. บริการให้ผู้เรียนทั้งรายบุคคลหรือเป็นรายกลุ่มได้เข้ามาใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้
5. จัดหาและจัดซื้อสื่อการเรียนที่จำเป็นและเหมาะสมกับผู้เรียนและหลักสูตร
6. ประเมินประสิทธิภาพของสื่อ


การบริการถือเป็นหัวใจสำคัญของศูนย์วิทยบริการ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างหลากหลายต่อผู้เรียน ผู้สอน ผู้ใช้บริการและ
สถาบัน หน้าที่ของศูนย์วิทยบริการ คือการบริการและสนับสนุนการเรียนการสอนของผู้เรียนและครู ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ในรูปของสื่อต่างๆ การให้ปรึกษา และอำนวยประโยชน์ในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ต่อผู้ที่มาใช้บริกา

บันทึกการเรียนการสอนวันที่2 ก.ค.

บันทึกการเรียนการสอนวันที่2 ก.ค.

สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆที่นำความรู้ไปสู่ผู้เรียนหรือช่องทางหรือเครื่องมือที่ช่วยให้สารอาศัยผ่าน อาจอยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed media) หรือสื่อไม่ตีพิมพ์ (Non-printed Media) ก็ได้ สื่อที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์จะหมายถึง วัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์ และวิธีการทางโสตทัศนศึกษารวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเรียกรวมๆว่าโสตทัศนูปกรณ์ (Audiovisual Aids) คำว่าโสตทัศนูปกรณ์ในภาษาอังกฤษมีใช้กันอยู่หลายคำ เช่น Non-printed Materials Audiovisual Materials Audiovisual Media Non-printed Media เป็นต้น ซึ่งคำเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความหมายคล้ายคลึงกันกล่าวคือเป็นสื่อหรือวัสดุที่ต้องใช้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหูและตา

ศูนย์สื่อการสอน หมายถึง ศูนย์ของโสตทัศนวัสดุ (Audiovisual Materials) สิ่งพิมพ์และเครื่องมือต่างๆ เป็นสถานที่รวบรวมสื่อการสอน เก็บพัสดุและการใช้นวัตกรรมอื่นๆรวมทั้งการให้บริการสื่อไปสู่ชั้นเรียน ห้องปฏิบัติการในโรงเรียน ซึ่งได้มีการจัดการระเบียบสถานที่และผู้ร่วมงานเพื่อสนองความต้องการของผู้สอนและผู้เรียนตามจุดหมายของการศึกษา

ศูนย์สื่อการศึกษา หมายถึง ศูนย์หรือหน่วยงานที่ให้บริการเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนความเคลื่อนไหว ความก้าวหน้าต่างๆ เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จุดมุ่งหมายในการดำเนินงานศูนย์สื่อการศึกษา

กระบวนการการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของผู้เรียนและการจัดกระบวนการการสอนของครูจะไม่บังเกิดผลถ้าปราศจากแหล่งความรู้ในทางการศึกษา ดังนั้นศูนย์สื่อจึงมีบทบาทสำคัญ ช่วยให้ครูผู้สอนและผู้เรียนดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาได้ จุดมุ่งหมายในการดำเนินงานที่สำคัญมีดังนี้
1. เป็นแหล่งบริการและอำนวยความสะดวกในด้านการผลิตสื่อสำหรับผู้สอนและผู้เรียน
2. ให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ประกอบในการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง
3. เป็นแหล่งค้นคว้าและวิจัยเทคนิคการเรียนการสอนใหม่ๆ
4. ช่วยเหลือผู้เรียนในการพัฒนาความรู้โดยใช้สื่อหลายรูปแบบ
5. ให้ความร่วมและประสานความรวมมือในการใช้วัสดุอุปกรณ์ภายในสถาบันและภายนอกสถาบัน
6. ให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ตามความสามารถและความสนใจของบุคคล
7. เป็นแหล่งรวมวัสดุอุปกรณ์ที่กระจัดกระจายในแต่ละหน่วยงานในสถานศึกษา ให้สามารถนำมาใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ
8. ใช้เป็นสถานที่เลือกสรรมาตรฐานของสื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอน
9. เพื่อเป็นสถานที่ประสานที่ประสานประโยชน์ด้านห้องสมุดและโสตทัศน์เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นแหล่งความรู้อันสมบูรณ์


ประเภทของศูนย์สื่อการศึกษา

1. ศูนย์การศึกษาภายในสถาบันการศึกษา โดยศูนย์การศึกษาประเภทนี้สถาบันการศึกษาได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์บริการสื่อ บางที่เรียกว่า Unified Media Center
2. ศูนย์สื่อการศึกษาสำหรับกลุ่มโรงเรียน
3. ศูนย์สื่อสารการศึกษาทั่วไป

คุณค่าของศูนย์สื่อสารการศึกษา
1. ผู้สอนใช้เป็นแหล่งความรู้ เพื่อการศึกษาค้นคว้าที่เป็นประโยชน์ต่อการเตรียมการสอน
2. ผู้เรียนใช้เป็นที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆได้อย่างอิสระ
3. เป็นสถานที่ฝึกอบรม สัมมนา แนะนำวิทยาการใหม่ๆ
4. เป็นแหล่งความรู้ของชุมชนเปิดโอกาสใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม


ข้อมูลโดย www.dei.ac.th/ac/06.doc